ประสบการณ์เรียนจีน

Home ประสบการณ์เรียนจีน

สงครามเอนทรานซ์ (高考战争)

วันนี้สุ่ยหลินมีเรื่องน่าสนใจมากฝากค่ะ เป็นเรื่องการสอบเอนทรานซ์ของนักเรียนจีนทั่วประเทศ ซึ่งจัดขึ้นทุกเดือนมิถุนายนของทุกปี เป็นสนามโหดหินซึ่งขึ้นชื่อลือชาว่าปราบเซียนเหลือหลาย อาจารย์เคยเล่าให้ฟังว่าแต่ก่อนการแข่งขันรุนแรงกว่านี้มาก เปรียบเทียบง่ายๆ ว่าคนสอบทุก 10 คนจะมีแค่ 4 คนที่มีที่เรียนในมหาลัย อีก 2 คนจะไปเรียนโรงเรียนฝึกวิชาชีพ ที่เหลือคือไม่มีที่เรียน !!ต่อให้มีเงินก็ตาม

นอกจากนี้ครอบครัวคนจีนมีความเชื่อกันว่าการสอบเอนทรานซ์สามารถเปลี่ยนชีวิตนักเรียนได้ การได้เรียนมหาลัยดีๆ หมายถึงอนาคตที่ดีขึ้น เป็นจุดมุ่งหมายของเด็กนักเรียนทุกคน ถ้าเอนท์ไม่ติดไม่มีที่เรียนก็ต้องออกมาทำงานรับจ้าง เคยถามอาจารย์ว่าเอนท์ไม่ติดก็เอนท์ใหม่ปีหน้าสิ อาจารย์บอกว่าตัวเลขนักเรียนม.6 สอบเอนท์ปีๆ หนึ่งเกือบ 10 ล้านคน (ปี 2014 มี 9.8 ล้านคน) ปีนี้เอนท์ไม่ติด ปีหน้าสอบใหม่ก็ได้ แต่ก็ต้องสู้กับอัตราส่วนคนสอบใหม่ในปีหน้าอันมหาศาลเหมือนเดิม T_T

และเพราะความเครียดความกดดันสูงนี้เอง จึงที่มาของแรงกดดันมหาศาลไม่เพียงแต่ไปยังเด็กนักเรียนเท่านั้น ยังรวมไปถึงครอบครัวของเด็กด้วย ครอบครัวจากชนบทยอมกู้หนี้ยืมสินส่งลูกเรียนขอให้เอนท์ติด หลายครอบครัวเชื่อว่าเอนท์ไม่ติดชีวิตจะพังทลาย มีตัวเลขการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นทุกปีเพราะเอนท์ไม่ติดด้วย

ในภาพชุดเหล่านี้เป็นการถ่ายภาพของนักเรียนม.ปลายในมณฑลเหอหนาน แสดงถึงชีวิต ความเครียด ความกดดัน ความคาดหวังของทั้งนักเรียนและครอบครัวเพื่อเตรียมการสอบเอนทรานซ์ในปี 2014 ที่แล้วมาค่ะ (ของปีนี้กำลังจะเริ่มกันเดือนหน้านี้แหละค่ะ)

มาติดตามชีวิตของเด็กนักเรียนม.ปลายชาวจีน เพื่อเตรียมตัวสอบเอนทรานซ์กันค่ะ

การ เดินทางในจีน (中国交通) ตอนรถไฟ ตอน 2

ตั๋วรถไฟจีน‬ บอกอะไรเราบ้าง

ครั้งแรกที่สุ่ยหลินได้ ตั๋วรถไฟจีน ในมือ (จากการช่วยเหลือของเพื่อนจีนที่ฝากเค้าซื้อ) ความรู้สึกคือมันคือกระดาษสีชมพูใบเล็กๆ อ่อนๆ เล็กกว่าใบเซียมซี พิมพ์ข้อความแน่นเปรี๊ยะบนกระดาษ และข้อความทั้งหมดเป็นภาษาจีนนนนนล้วนๆๆ ฮ่วยๆๆ มีตัวอังกฤษอยู่จึ๋งนึง คือชื่อเมืองและ รหัสรถ (เรื่องรหัสรถ เล่าไปแล้วใน การเดินทางในจีน (中国交通) ตอนรถไฟ ตอน 1) ไม่ได้อธิบายอะไรเล้ยยย หมวยปวดกบาลแท้ !!

การเดินทางในจีน (中国交通) ตอนรถไฟ ตอน 1

ตอนที่สุ่ยหลินไปเรียนเมือง‎จีน‬ใหม่ๆ การเดินทางด้วยรถไฟถือว่ายากที่สุดล่ะ แต่เปล่านะคะ ไม่ได้ยากเพราะรถไฟมีปัญหาหรืออะไร สุ่ยหลินกล้าพูดเลยว่าระบบรถไฟจีน‬ ดีมาก ทันสมัยมีหลายเกรด หลายราคาให้เลือก รถไฟที่ราคาตั๋วแพงก็สะอาด สะดวกรวดเร็ว มีน้อยมากที่จะดีเลย์ ช้า หรือมีปัญหา อยากจะบอกว่าดีกว่ารถไฟเมืองไทยเยอะค่ะ (จากใจจริงของคนที่อยากให้รถไฟไทยพัฒนาให้เทียมหน้าตา ‪รถไฟเมืองจีน‬)

แต่ปัญหาก็คือการซื้อตั๋วรถไฟต่างหากล่ะคร้าบบบ

การเดินทางในจีน (中国交通) ตอนรถแท็กซี่

การเดินทางในจีน แท็กซี่

มาถึงอีกพาหนะ สำหรับ การเดินทางในจีน ที่สุ่ยหลินมั่นใจว่าคนไทยไปเมืองจีนต้องได้ใช้แน่ๆ นั่นคือtaxi ในเมืองจีนเรียกหา taxi ง่ายค่ะ ค่าโดยสารก็พอรับไหว เวลารีบด่วนหรือต้องไปซื้อของหนักๆ ของเยอะๆ เรียก taxi ได้เลย ไม่ต้องคิดมาก

วันนี้มารู้จัก taxi เมืองจีนดีกว่าเนอะ

ภาษาจีนกลางเรียก taxi ว่า 出租车 [chūzūchē] แปลตรงตัวว่า รถเช่า
โบกหรือเรียกtaxi เรียกว่า 打的 [dǎdī] ต่าตี

เดินทางในจีน (中国交通) ตอนรถไฟฟ้า

ถ้าใครที่ไปเรียนจีนตามเมืองใหญ่ๆ ไม่ต้องเมืองหลวงก็ได้ เมืองเอกเมืองรองทั่วไปในจีน เดี๋ยวนี้เค้าก็มีรถไฟฟ้าหรือใต้ดินกันหมดแล้ว (ไม่เหมือนที่ไหนก็ไม่รุ้! ก้อไม่แคล้วต้องใช้บริการนะคะ )

จริงๆ แล้ววิธีการใช้ก็ไม่แตกต่างกับ BTS/MRT บ้านเราเท่าไหร่ แต่ข้อดีที่สุ่ยหลินเห็นเลยและชอบมว๊าก เมื่อไหร่เมืองไทยจะมีซ้าที คือเค้าให้ใช้บัตรใบเดียวกันเดินทางกันได้ล่ะ (อาจจะไม่ได้ใช้ได้ในทุกเมือง แต่ถ้าเมืองใหญ่ๆ มีชัวร์) อย่างที่เซี่ยงไฮ้เค้าเรียกสิ่งนี้ว่า 交通卡 [jiāotōngkǎ] แปลตรงตัวเป๊ะคือบัตรคมนาคม แปลแบบสุ่ยหลินคือมีบัตรใบเดียวตรูรอดแล้ว

เดินทางในจีน (中国交通) ตอนรถเมล์

ลืมกันไ่ปหรือยังคะ ว่าเรามีซีรีย์ชุด “ตามหมวยไปเรียนเมืองจีน” กานนนอยู่
ถ้าตอบว่าลืมไปชาติแล้ว เพราะคนเขียนไม่มาอัพเดท จะเสียใจมากมาย T_T

ภารกิจรัดตัวหมวยจนไปออกพุง เอ้ย..คือ..ไม่มีข้อแก้ตัวค่า เขียนโพสไม่ทันกั๊บ.. ขออำภัย (แล้วยังจะมาแถลง ฮ่วย)
เริ่มเลยดีกว่าเนาะ

การเดินทางในเมืองจีนเนี่ย ถ้าใกล้ๆ ก็รถเมล์ ถูกสุด สะดวกสุด แต่รถเมล์ที่จีนบางทีไม่มีกระเป๋าหรือกระปี๋นะ ต้องใช้วิธีหยอดเงินลงกล่องเอง นั่นแปลว่าไม่มีทอนด้วย ค่ารถเมล์ขึ้นกับระยะทาง ไม่มีเหมาๆ แบบของเรา จุดหยอดตังส่วนใหญ่ก็หยอดหน้าคนขับ (ประตูหน้า) และลงประตูกลาง ห้ามย้อนศรเดวเค้าหาว่าเป็นกระเหรี่ยง (อ๋อที่รู้เพราะสุ่ยหลินทำมาแย้วว)

ไปเรียนแล้วจะกินอะไร (中国菜有几种?)

จากซีรีย์ชุด “ตามหมวยไปเรียนเมืองจีน” สุ่ยหลินเล่าเรื่องหอ เรื่องเมืองที่เราเลือก สำเนียงภาษา เรื่องมหาลัยและอื่นๆ สามารถติดตามได้ในโพสเก่าๆ นะคะ ^^

ตอนนี้เลยอยากคุยเรื่องอาหารกันหน่อย กินอาหารอร่อยก็มีแรงเรียนจริงไหม 555

จะให้กินแมคหรือเคเอฟซีทุกมื้อก็ไม่ไหวเหมือนกัน
ตอนแรกที่สุ่ยหลินไปเรียน ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องเมืองจีนมากเท่าไหร่ คิด (เอาเอง) ว่าไปเรียนเมืองจีนต้องได้กินข้าวหน้าเป็ด ข้าวหมูแดงทุกวันแน่ๆ คงหากินได้ง่ายทั่วไปเหมือนเมืองไทยแน่ รอดล่ะเราชอบกินพอดี

พอเอาเข้าจริงๆ ไปถึงที่หังโจว ไม่เจอเลยคร้าบบบ ร้านข้าวหน้าเป็ด ข้าวหมูแดงที่ว่า ความจริงคือไม่เจออาหารจีนอะไรเลยที่หน้าตาเหมือนที่เมืองไทย อ๊ากกกซซ์

หอใน หอนอก อย่างไหนดีกว่ากัน?

宋干节快乐/泼水节快乐!สุขสันต์วันสงกรานต์ค่ะ มิตรรักแฟนเพจ

สงกรานต์ปีนี้แถวบ้านสุ่ยหลินร้อนตับแลบ จนเมื่อวานฝนตกอย่างถล่มทลาย แต่สุ่ยหลินไม่รู้เรื่องเลยเพราะไปเมกาบางนา มั่นใจว่าคนแถบบางนาสงกรานต์ไม่ไปเที่ยวตจว ต้องไปเมกาแน่ๆ เพราะคนเยอะมว๊ากกก โดยเฉพาะอิเกีย (ภาษาจีนเรียก 宜家 Yíjiā น้า รู้ยัง)
เข้าเรื่องๆ ค่ะ

ซีรีย์ชุด “ตามหมวยไปเรียนจีน” ตอนนี้อยากเล่าเรื่อง “หอ” กันดีกว่า เพราะเราก็รู้แล้วว่าเราจะไปเมืองไหน มหาลัยไหน ไปเพราะอะไร เรียนที่ไหนดี ฯลฯ ตอนนี้เรามาดูชีวิตความเป็นอยู่ของนร.ไทยในจีนดีกว่านะ

ไปนานแค่ไหนถึงพูดได้ (要学多久才能说汉语?)

ตอนก่อนนู้น (ไม่นานนะจ๊ะ โพสที่แล้วเอ๊ง) สุ่ยหลินเล่าถึงว่าเราจะไปเรียนเมืองไหนดี สรุปมโนว่าเราเลือกเมือง เลือกมอได้แระ

คำถามต่อไป…คือแล้วจะไปนานแค่ไหน แม่ก็ห่วง พ่อก็รัก แฟนก็คิดถึง หมาที่บ้านก็จะหงอยเหงาหากเราไม่อยู่

อันนี้ขอตอบแบบรวบรัดตัดความเลยว่า ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย ดีกรีและความสามารถภาษาจีนของเรา ณ ตอนนี้ค่า

ถึงคราวจะลั้นลา ว่าแต่จะไปไหนดี (去哪儿好?)

ขอขอบคุณแฟนเพจทุกคนที่ติดตามนะคะ รวมทั้งข้อความหน้าบ้านหลังบ้านด้วยที่ให้ความสนใจกับเพจซีรีย์ชุด “ตามหมวยไปเรียนจีน” (เพิ่งตั้งเองเมื้อกี้ 555)
สุ่ยหลินจะพยายามตอบทุกคำถามนะคะ ตกหล่นประการใดขออำภัยด้วยค่ะ เขียนมาเตือนกันได้เผื่อลืมเน่อ

เขียนมาหลายตอนล่ะทบทวนความจำกันสักหน่อย ใครยังไม่ได้ไปอ่านโพสเก่าๆ จะได้ติดตามถูกเนอะ
1.ทำไมสุ่ยหลินถึงไปเรียนเมืองจีน
2.ไปเรียนเมืองจีนดีจิงเร๊อะ (ตอน 1+2)
3. อย่าทิ้งฝรั่งนะ

ถึงตอนที่่ 4 แร้ว (ซะที)
ตอนนี้สมมติว่าเรากำลังจะเก็บกระเป๋าเดินทางไปเรียนเมืองจีนกันล่ะ คำถามคือแล้วจะไปที่หนายยยย