ไวยากรณ์จีน

Home เรียนจีน ไวยากรณ์จีน

ไวยากรณ์จีน ไม่เห็นยาก : 拿起来 และ 拿上来 สรุปต่างกันยังไงหว่า??!!

ไวยากรณ์จีน ไม่เห็นยาก 拿起来 拿上来

สวัสดีค่ะแฟนเพจที่น่ารักของสุ่ยหลินทุกคน^^ หลังสงกรานต์แล้วสุ่ยหลินเชื่อว่าแฟนๆ ทุกคนคงได้พักผ่อนอย่างเต็มที่เพราะมีวันหยุดยาวตั้งหลายวัน ส่วนสุ่ยหลินไม่ได้ไปไหนเลย ได้แต่นอนผึ่งพุงตากแอร์ (แรงๆ) ที่บ้าน เพราะร้อนแทบแย่แหน่ะค่ะ รอไว้จ่ายค่าไฟที่พุ่งกระฉูดสิ้นเดือนนี้แทน TT

ได้เวลากลับมาทบทวนภาษาจีนกันแล้วนะคะ^^ (อย่าเพิ่งทำหน้าเบื่อจิคับ) ภาษาจีนเนี่ยมีไวยากรณ์อยู่ตัวนึงที่คนจีนชอบใช้ ส่วนคนไทยเราชอบงง เรียกว่า 补语 [bǔyǔ] หมายถึงบทเสริมกริยา ซึ่งตามชื่อเลยต้องวางไว้หลังกริยาเท่านั้นค่าา ซึ่ง 补语 นี่มีหลายประเภท วันนี้สุ่ยหลินอยากพูดถึง 补语 ประเภทนึงซึ่งก็คือ  趋向补语 [qūxiàng bǔyǔ] แปลเป็นไทย (อีกหน) คือบทเสริมกริยาบอกทิศทาง โดยจะพูดถึง 2 ตัวเนี้ยได้แก่ 拿起来 [ná qǐlai] และ 拿上来 [ná shànglái] ค่า

拿起来 และ 拿上来 2 คำนี้ต่างกันยังไงนะ ? แปลว่ายกขึ้นเหมือนกัน?? หรือไม่เหมือนหว่า?? ตกลงว่าต่างกันยังไงกันแน่อ่ะ?? ติดตามได้ในโพสนี้กะสุ่ยหลินค่าา

会 [huì], 能 [néng] และ 可以 [kěyǐ] สามนักกีฬาเสื้อสามารถ^^

会 [huì], 能 [néng] และ 可以 [kěyǐ] สามนักกีฬาเสื้อสามารถ^^

สวัสดีค่ะแฟนเพจที่รักของสุ่ยหลิน^^ ตอนแรกที่สุ่ยหลินจะเขียนเรื่อง 会, 能 และ 可以 เนี่ย สุ่ยหลินชั่งใจอยู่นานพอควรเลยค่าา เพราะว่าสามนักกีฬาเสื้อสามารถเนี่ย เป็นหนึ่งในคำถามคลาสสิกที่คนเรียนภาษาจีนหลายคนต้องงงมาก่อน เลยมีเหล่าซือหลายท่านที่เขียนอธิบายเรื่อง 会, 能 และ 可以 มาเป็นอย่างดีแว้วนะคะ

แต่พอเวลาผ่านๆ ไป สุ่ยหลินเองก็สังเกตว่ายังมีแฟนๆ ไม่เข้าใจเรื่องสามตัวนี้อยู่นะ ดังนั้น อย่ากระนั้นเลยเขียนโพสเรื่อง 会, 能 และ 可以 ดีฝ่า ใครที่เคยอ่านในเวอร์ชั่นของเหล่าซือคนอื่นแล้ว ก็ลองเปลี่ยนบรรยากาศดูมั่งนะจ๊ะ

ติดตาม 3 ตัวชวนงง 会, 能 และ 可以 ในโพสนี้กะสุ่ยหลินค่าา^^

ซีรีย์คำเหมื๊อนเหมือน ตอน 半 ,一半 และ 一个半 3คำนี้มีอะไรต่างกันยังไง?

半 [bàn], 一半 [yí bàn] และ 一个半 [yí ge bàn]

สวัสดีค่ะแฟนเพจทุกคน สุ่ยหลินกลับมาอีกครั้งกับซีรีย์คำเหมื๊อนเหมือนตอน 半 [bàn], 一半 [yībàn] และ 一个半 [ ge bàn] ค่ะ อยากรู้ว่าสามคำข้างบนใครเคยงงแบบสุ่ยหลินมั่ง เรารู้แหละว่า 半 เดี่ยวๆ แปลว่าครึ่ง แต่พอมาแบบมีจำนวนนับนำหน้าแบบนี้ เป็น 一半 [yībàn] หรือแอดวานซ์กว่านั้นมีจำนวนนับพ่วงลักษณนามนำหน้าแบบนี้ล่ะ 一个半 [yī ge bàn] ยังแปลว่า “ครึ่ง” อยู่หรือป่าวนะ?

ติดตามคำตอบของ 3 คำนี้ได้ว่าต่างกันยังไงในโพสนี้เรยค่าา^^

把字句 ไวยากรณ์นี้ไม่มีในภาษาไทย ตอน 2

把字句

เพื่อไม่เสียเวลา เรามาเริ่มกันตอน2เลยดีกว่านะจ๊ะ เพราะโพสนี้มันยาววววว แต่มีประโยชน์ต่อภาษาจีนของเฮา จึงควรรีบอ่านน้าา! ใครไม่ได้อ่านตอนแรกหรือลืมไปแระว่าคืออาไร กดที่นี่ครัชชช 把字句 ไวยากรณ์นี้ไม่มีในภาษาไทย ตอน 1

การใช้ประโยค 把 ที่เราใช้ผิดกันบ่อยๆเนี่ย มีอยู่สองแบบค่ะ แบบแรกคือที่ไม่ควรใช้แต่เรากลับใช้ และแบบที่สองคือที่ควรใช้แต่เราดันไม่ใช้ซะนี่ เอ..สุ่ยหลินนี่ยังไง? ตอบแบบนี้ก็ถูกล้านเปอร์เซนต์อ่ะสิ (คุณผู้อ่านคิดในใจ)

จริงๆ คือสุ่ยหลินอยากให้ดูกรณีตัวอย่างที่มักใช้ผิด แล้วค่อยจับข้อสังเกตของการใช้ 把字句 ที่ถูกต้องต่างหากล่ะคะ งั้นมีกรณีไหนบ้างที่ใช้ผิดล่ะ มาดูกันเรยยยค่าา!!!

有点儿 VS 一点儿 อันไหนน้อยกว่ากัน?

有点儿 一点儿

สุ่ยหลินว่าเรารู้จักคำว่า “点” ในภาษาจีนมาบ้างแล้วนะคะ คำนี้นอกจากจะแปลว่า “จุด” เช่น 三点五 [sān diǎn wǔ]  = สามจุดห้า หรือแปลว่า  “สั่ง (อาหาร)” เช่น 点菜 [diǎncài] แล้ว ก็ยังเป็นหน่วยนับของเวลาเป็นชั่วโมงได้อีกด้วยล่ะ เช่น 三点 [sān diǎn] = 3 โมง เป็นต้นค่ะ แต่พอเราเอา + 点儿 กลายเป็น 一点儿 ในเมื่อ 一  = หนึ่ง งั้น 一点儿 ก็น่าจะแปลว่าอะไรเล็กๆนะ  แถมยังมีอีกคำ + 点儿 กลายเป็น 有点儿  เอ๋!เริ่มงงล่ะว่าสองคำนี้ต่างกันยังไง?? แล้วจะแปลว่าอะไรดี ที่สำคัญตัวไหนน้อยกว่าตัวไหนล่ะ??

สุ่ยหลินมีคำตอบให้ค่ะ^^ ตามอ่านกันเลย

把字句 ไวยากรณ์นี้ไม่มีในภาษาไทย ตอน 1

把字句

สวัสดีค่ะ มิตรรักแฟนเพจของสุ่ยหลินคะ วันนี้สุ่ยหลินกลับมาพร้อมกับเรื่องประโยค 把 (把字句) [“bǎ” zìjù] ซึ่งเป็นไวยากรณ์ที่ภาษาไทยม่ะมี? อ่าว! แล้วจะรู้ไปทำไมล่ะ?? คุณผู้อ่านอาจถาม ก็เพราะว่าภาษาจีนมี แล้วยังใช้เยอะ ใช้บ่อย แถมยังชอบออกสอบ HSK อีกด้วยค่าา

สุ่ยหลินเขียนโพสนี้ขึ้นมาเพราะมั่นใจพวกเราเหล่าคนรักภาษาจีน พอเรียนไปสักพักก็ต้องเจอ 把字句 แล้วก็ต้องงงงวยอย่างแน่นอน แต่วันนี้มีตอบทุกคำถามของ 把字句 ไวยากรณ์ที่ไม่มีในภาษาไทยตอน 1 ส่วนตอน 2 จัดมาทีหลัง ให้เราค่อยๆ รู้จัก 把字句 ให้ลึกซึ้งประหนึ่งเป็นญาติกันเลยทีเดียวเชียวน้า

ติดตาม 把字句 ในโพสนี้กะสุ่ยหลินครัชช

越来越爱你… ยิ่งนานวัน ยิ่งรักเธอววว์ ฮิ้วววว….^^

สวัสดีค่าแฟนเพจที่น่ารักของสุ่ยหลินทุกคนคะ หลังจากเราลัลลากันมาเยอะแว้ว โพสนี้ได้เวลากลับมาเรียนกันอีกทีเนอะ แต่สุ่ยหลินรับประกันว่าโพสนี้ไม่ยาก เห็นบ่อยใช้บ่อย  ของดีประโยชน์เยอะจริงๆน้าาา

ต้องเล่าก่อนว่าคำถามของโพสนี้มาจากน้องเบสผู้น่ารัก^^ น้องเบสมาเรียนคอร์สพิชิต HSK3 กับสุ่ยหลินเมื่อครั้งล่าสุดค่ะ แล้วถามคำถามนี้ในห้อง สุ่ยหลินเลยรับปากน้องเบสไว้ว่าขอค้นข้อมูลมาเขียนเป็นโพสให้นะ เพราะคำถามของน้องเบสน่าสนใจมั่กๆ น้องเบสถามว่า 越来越 [yuèláiyuè], 越 … 越… [yuè… yuè…] และ  又…又 [yòu… yòu]  3 คำเนี้ยแตกต่างกันยังไงคะ??

ติดตามวลี 越 … 越… กับตัวอย่างหวานๆหลังวาเลนไทน์ 越来越爱你 [yuèláiyuè ài nǐ] = ยิ่งนานวันยิ่งรักเธอวว์ ได้ในโพสนี้ค่าา เผื่อจะจำไปใช้กะใครสุ่ยหลินไม่สงวนลิขสิทธิ์ดอกนะ หุ หุ

ซีรีย์คำเหมื๊อนเหมือน ตอน 对 [duì] และ 跟 [gēn] ชั้นกับเธอ..จะใช้คำไหนดี? (ไวยากรณ์จีน)

ไวยากรณ์จีน 对 และ 跟

สวัสดีค่ะ มิตรรักแฟนเพจที่รักของสุ่ยหลิน สุ่ยหลินกลับมาอีกครั้งกับคอนเซปต์เดิม เรียนภาษาจีนสนุก เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง กับชุดซีรีย์คำเหมื๊อนเหมือน ตอน 对 (duì) และ 跟 (gēn) ซึ่่ง 2 คำเนี้ย สุ่ยหลินมั่นใจฝุดๆ ว่าเราที่เรียนภาษาจีนกันมา ต้องรู้จักกันชัวร์ๆ แต่สองคำนี้เวลาใช้มันต่างกันตรงไหนอ่ะ ??

เพื่อความทารุณแก่แฟนเพจ อิ อิ สุ่ยหลินขอเริ่มต้นด้วยคำถามซะเรยยย ถามว่า 2 ประโยคข้างล่างนี้ ต่างกันยังไงจ๊ะ?

他说了。 [Wǒ gēn tā shuō le.] กับ 他说了。 [Wǒ duì tā shuō le.]

แปลว่า “ฉันพูดกับเค้าแล้ว” ??? เหมือนกันไหม?

7 คำเชื่อมสันธาน (连词) ที่เจอบ่อยสุดๆ (HSK3)

HSK3
HSK3 连词

สวัสดีค่ะแฟนเพจที่น่ารักของสุ่ยหลิน ^^  โพสนี้ต่อเนื่องมาจาก LIVE ครั้งที่ 53 ตอน: จะสอบ HSK ยังไงให้ผ่าน!!! สุ่ยหลินพูดถึงเทคนิคการพิชิตข้อสอบ HSK ไว้ค่ะ และหนึ่งในนั้นคือการรู้จักคำเชื่อมในภาษาจีน (คำสันธาน) ภาษาจีนเรียก 连词  [liáncí]

พวกคำเหล่าเนี้ย เรียนไปทำไมแล้วมีประโยชน์ยังไงนะ??

ถ้าลองเปรียบเทียบกับภาษาไทยเวลาเราจะเล่าให้เพื่อนฟังว่า “วันนั้นชั้นไปนั่งรถไฟฟ้า กินข้าวผัดปู เจอหน่อย (ชื่อเพื่อน) ซื้อของ ของแพง กลับบ้าน” เราฟังแล้วรู้เรื่องป่าว? คำตอบคือรู้เรื่อง แต่ฟังแล้วรู้สึกแปลกๆ มั๊ย? ถ้าให้สุ่ยหลินเปรียบก็เหมือนกับกินก๋วยเตี๋ยวแห้ง แต่ลืมใส่น้ำมันกระเทียมเจียว มันแห้งแล้ง ฝืดคอตายแหง๋ยังไงชอบกลเนาะ

นั่นก็เพราะสิ่งที่ขาดไปในประโยคข้างบนก็คือคำเชื่อมทั้งหลายนั่นเองค่าาา จริงๆ แล้วเราน่าจะพูดว่า “วันนั้นชั้นไปนั่งรถไฟฟ้า จากนั้นก็ไปกินข้าวผัดปู แล้วก็เจอหน่อย (ชื่อเพื่อน) เสร็จแล้วก็ไปซื้อของ แต่ของกลับ (ดัน) แพง แล้วก็เลยกลับบ้าน” ฟังดูเป็นผู้เป็นคนมากกว่าเดิมแยะ อิ อิ

ดังนั้น คำเชื่อมไม่ว่าภาษาไทยหรือจีนก็ล้วนให้ประโยชน์ ในการทำให้คำพูดของเราหรือการเขียนของเราลื่นไหล บอกเหตุบอกผล และเป็นธรรมชาติมากขึ้น รวมไปถึงช่วยให้เราเดาความหมายของประโยคที่ตามมา ที่เราอ่านไม่เข้าใจทั้งหมดได้ด้วยเวลาสอบ ดังนั้น โพสนี้เรามารู้จักคำเชื่อมสันธานที่ใช้บ่อยๆ ในชีวิตประจำวันและชอบอยู่ในข้อสอบ HSK3 บ่อยๆ ด้วยกันจ๊ะ

ซีรีย์คำเหมื๊อนเหมือน ตอน 为 [wèi] และ 为了 [wèile] ต่างกันยังไงฟร่ะ?? (HSK 3)

สุ่ยหลินและเรียนจีนให้ได้จีนกลับมาอีกหนกับซีรีย์คำเหมื๊อนเหมือนตอนคำบุพบท 为 [wèi] และ 为了 [wèile] นะค้าาา นอกจากคำสองคำนี้จะแปลคล้ายกันแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่่งของข้อสอบ HSK3 ที่มักลับลวงพรางให้หมูน้อยๆ อย่างเราชวนงุงงง สับสนเป็นที่สุด

ถ้าเราลองเปิดดิกดูเราจะเจอว่า 为 = เพื่อ และ 为了 = เพื่อเป้าหมายที่จะ….

งงม่ะคะ??

งั้นมาติดตามความต่างของ 为 และ 为了 แบบทีเดียวโป้งจอด…เย้ย..แบบชัดๆ ไม่งงได้ในโพสนี้ค่าาา^^